header-image

คู่มือภาษีคริปโต 2566

วิธีการคำนวณและการยื่นภาษีคริปโตแก่กรมสรรพากรของประเทศไทย

15 พฤศจิกายน 2022, 16:13

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นคู่มือฉบับสมบูรณ์ในการคำนวณและจ่ายภาษีคริปโต (เช่น Bitcoin และ Ethereum) สำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่านี่จะเป็นครั้งแรกที่คุณยื่นภาษีคริปโตหรือเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ด้านการเข้ารหัสลับที่มีประสบการณ์ คุณจะพบคู่มือนี้มีประโยชน์ ในคู่มือนี้เราจะกล่าวถึง:

  • วันสำคัญต่างๆ

  • คริปโตเคอร์เรนซีถูกเก็บภาษีอย่างไร

  • ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับประเภทธุรกรรมของคริปโตเคอร์เรนซีต่างๆ (เช่น การขาย และ mining)

  • วิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากร

คู่มือนี้จะได้รับการอัพเดตและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอเพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่ทำโดยสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่(กรมสรรพากร) และธุรกรรมประเภทใหม่ หากคุณพบข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ล้าสมัย ในกรณีดังกล่าว เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งหากคุณจะแจ้งให้เราทราบโดยส่งอีเมลไปที่ [email protected] หรือผ่านการแชทกับทีมสนับสนุนของเราที่มุมล่างขวาของเว็บไซต์ของเรา

วันสำคัญในปี 2566

วันที่ 31 มีนาคม– กำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษ

8 เมษายน – กำหนดยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต หากคุณมีรายได้ตามมาตรา 40(1)(2)(4) หรือ (8) คุณต้องยื่นภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91

30 กันยายน - กำหนดยื่นภาษีครึ่งปี หากคุณมีรายได้ตามมาตรา 40 (8) คุณต้องยื่นภาษีครึ่งปีด้วยแบบ ภ.ง.ด. 94

คริปโตเคอร์เรนซีถูกเก็บภาษีในประเทศไทยอย่างไร

ในประเทศไทย คุณต้องเสียภาษีสำหรับรายได้ใดๆที่ได้รับจากธุรกรรมคริปโตของคุณ การใช้จ่ายและการแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถูกเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 5%-35% โดยที่คุณต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป

ในเดือนมกราคมปี 2022 กรมสรรพากรได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีคริปโตเคอร์เรนซีในประเทศไทย ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ถูกประกาศออกมาเพื่อสนับสนุนให้ผู้เสียภาษีชาวไทยเสียภาษีจากรายได้ที่ได้รับจากคริปโตเคอร์เรนซีต้อง ด้านล่างนี้ เราจะกล่าวถึงสิ่งสำคัญที่คุณจำเป็นต้องรู้เมื่อแสดงธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีของคุณต่อกรมสรรพากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คุณจะต้องเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินของคุณ เงินได้พึงประเมินของคุณคือผลรวมของเงินได้ของคุณจากมาตรา 40(1)-40(8) ของประมวลรัษฎากร ไม่ต้องกังวลไป; เราจะอธิบายว่าธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดของคุณเหมาะสมกับกรอบนี้อย่างไร

อัตราภาษีเงินได้ของคุณคำนวณตามขั้นภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้

เงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) อัตราภาษีร้อยละ จำนวนภาษีสะสมสูงสุดของขั้น (บาท)
0-150,000 0% 0
150,000-300,000 5% 0
300,000 – 500,000 10% 7,500
500,000 – 750,000 15% 27,500
750,000 – 1,000,000 20% 65,000
1,000,000 – 2,000,000 25% 115,000
2,000,000– 4,000,000 30% 365,000
4,000,00+ 35% 965,000

ในการคำนวณภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ ให้พิจารณาเงินได้แต่ละขั้นของคุณในตารางด้านบน คุณสามารถดูจำนวนภาษีที่ต้องชำระได้ที่คอลัมน์ที่ 3 ของแต่ละบรรทัด สำหรับเงินได้ที่นอกเหนือจากตารางด้านบนนี้ ให้คูณด้วยอัตราภาษีของคุณในคอลัมน์ที่ 2 จากนั้นคุณสามารถเพิ่มจำนวนภาษีในคอลัมน์ 3 เพื่อแสดงภาระภาษีของคุณ

ตัวอย่าง วิธีที่ 1: สมมติว่ารายได้จากเงินเดือนทั้งปีของคุณคือ 500,000 บาท หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด และคุณได้กำไร 300,000 บาท จากการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี ดังนั้น คุณมีรายได้รวมที่ต้องเสียภาษี 800,000 บาท โดยที่ 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้นภาษี

จากเงินได้ 800,000 บาท คุณจะตกอยู่ในขั้นเงินได้ระหว่าง 750,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท รวมภาษีที่ต้องชำระของ เงินได้ 750,000 บาท คือ 65,000 บาท เงินได้ที่สูงกว่านี้จะต้องเสียภาษีที่ 20% เนื่องจากเงินได้ 50,000 บาท อยู่เหนือระดับล่างสุดของขั้นเงินได้ คุณจึงสามารถคำนวณภาษีเพิ่มเติมที่ต้องชำระเป็นจำนวน 50,000*0.2 = 10,000 บาท ดังนั้นยอดรวมภาษีที่ต้องชำระคือ 65,000+10,000 = 75,000 บาท

กฎพันละห้า

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีเงินได้พึงประเมินมากกว่า 60,000 บาท คุณต้องพิจารณากฎพันละห้าด้วยเช่นกัน คุณจะเสียภาษีตามวิธีการที่สามารถคำนวณภาษีที่ต้องชำระได้มากที่สุด วิธีพันละห้านี้กำหนดให้คุณต้องคำนวณภาษีที่ 0.5% ของเงินได้พึงประเมินของคุณ และจะต้องเสียภาษีหากคำนวณได้มากกว่า 5,000 บาท แต่หากคำนวณได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จึงไม่จำเป็นต้องเสียภาษีตามกฎพันละห้า

ตัวอย่าง วิธีที่ 2:

สมมติว่ารายได้ประเมินของคุณคือ 800,000 บาท แต่คุณมีค่าใช้จ่าย 660,000 บาท เงินได้ที่ต้องเสียภาษีของคุณคือ 140,000 บาท โดยที่ 150,000 บาท แรกได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1

เนื่องจากเงินได้พึงประเมินคือ 800,000 บาท เราจึงต้องใช้กฎพันละห้า การใช้กฎนี้เราคำนวณที่ 800,000*0.05 = 4,000 บาท กฎพันละห้าแสดงจำนวนภาษีต่ำกว่า 5,000 บาท ดังนั้น คุณจึงไม่ต้องจ่ายภาษีตามวิธีที่ 2 เนื่องจากวิธีที่ 1 ไม่มีภาษีที่ต้องชำระ คุณจึงไม่ต้องเสียภาษี

วิธีการบัญชีต้นทุน

ในการคำนวณรายได้ของคุณเกี่ยวกับธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซี คุณต้องคำนวณต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของคุณในประเทศไทย คุณสามารถเลือกวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่

วิธี FIFO จะถือว่าสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีที่ซื้อครั้งแรกได้ถูกขายออกไปก่อน วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่จะคำนวณราคาซื้อเฉลี่ยของการซื้อคริปโตทั้งหมดสำหรับคริปโตเคอร์เรนซีแต่ละรายการของคุณ ยิ่งต้นทุนสูงเท่าใดกำไรที่ต้องเสียภาษีก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น

คุณต้องใช้วิธีการคำนวณต้นทุนแบบเดียวกันตลอดทั้งปี โดยที่คุณต้องใช้วิธีเดียวกันสำหรับคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดของคุณ อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องแจ้งกรมสรรพากรหากคุณตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการคำนวณต้นทุน

คริปโตเคอร์เรนซีที่คุณถือไว้ ณ ตอนสิ้นปีจะไม่ต้องเสียภาษี มูลค่าตามวิธี FIFO หรือต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่จะถูกยกยอดไปในปีถัดไป

ตัวอย่าง: ไมเคิลได้ซื้อคริปโตเคอร์เรนซีสองครั้งและขายเพียงครั้งเดียว

  • 4 พฤษภาคม 2016: ซื้อ 1 BTC ในราคา 10,000 บาท

  • 15 มกราคม 2022: ซื้อ 1 BTC ในราคา 1,000,000 บาท

  • 16 มกราคม 2022: ขาย 1 BTC ในราคา 800,000 บาท

การใช้วิธี FIFO จะถือว่า BTC ที่ซื้อครั้งแรกเป็นรายการแรกที่ถูกขาย ดังนั้น รายได้ที่ประเมินได้คือ 800,000 บาท โดยหักค่าใช้จ่ายได้ 10,000 บาท ดังนั้น ไมเคิลจะต้องยื่นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมิณ 790,000 บาท เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การใช้วิธี FIFO จะถือว่า BTC ที่ซื้อครั้งแรกเป็นรายการแรกที่ถูกขาย ดังนั้นหากเขาขาย 1 BTC ในราคา 800,000 บาท เขาได้กำไร 790,000 บาท จากการซื้อ BTC ครั้งแรกของเขา ยื่นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมิณ 790,000 บาท ต่อกรมสรรพากร

เมื่อใช้วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายจะเป็นค่าเฉลี่ยของ BTC ที่ซื้อมาทั้งสองครั้ง จำนวนนี้คือ (1,000,000+10,000)/2 = 505,000 บาท ดังนั้น ไมเคิลจะต้องยื่นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมิณจำนวน 800,000-505,000 = 295,000 บาท

หากไม่ได้แปลงคริปโตเคอร์เรนซีเป็นเงินบาท หรือ โอนเข้าบัญชีธนาคาร ถูกจัดเก็บภาษีหรือไม่ ถูกต้อง ไม่เพียงแต่การแปลงคริปโตเป็นสกุลเงิน FIAT เท่านั้นที่ต้องเสียภาษี หากคุณเทรดคริปโตเคอร์เรนซีที่ถืออยู่เป็นคริปโตเคอร์เรนซีอื่นๆ คุณก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน สำหรับรายการธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี โปรดดูหัวข้อถัดไป

ธุรกรรมที่เกิดจากการเทรดในต่างประเทศจะถูกจัดเก็บภาษีหรือไม่

คุณจะถูกเก็บภาษีจากเงินได้ทั่วโลกที่เกิดจากคริปโตเคอร์เรนซี หากคุณเป็นผู้เสียภาษี ในที่นี้คือหากคุณเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่เพื่อการรัษฎากรหากอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาอย่างน้อย 180 วันในปีใดๆ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยทั่วไป หากเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซีของคุณเกิน 1.8 ล้านบาท คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตามเงินได้จำนวน 1.8 ล้านบาท นี้ใช้ไม่มีผลบังคับใช้กับการขายคริปโตเคอร์เรนซีโดยผู้มีใบอนุญาตซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะถูกหักไว้เมื่อมีการชำระเงินเพื่อแลกกับบริการที่ได้รับ ในระหว่างปีภาษี หากผู้เสียภาษีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปใช้เป็นเครดิตในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90

โดยทั่วไป ผู้ซื้อคริปโตจะมีหน้าที่ต้องหักภาษี 15% หากผู้ซื้อรู้ว่าใครเป็นผู้ขาย อย่างไรก็ตาม หากคุณทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มโดยที่คุณจะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ขาย ดังนั้น ในฐานะผู้ซื้อคุณจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับธุรกรรมเหล่านี้

สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับรายได้ที่เกิดจากคริปโตเคอร์เรนซีได้หรือไม่

คุณสามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรที่เกิดจากธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีได้ โดยที่คุณสามารถนำผลขาดทุนจากคริปโตเคอร์เรนซีสกุลเงินหนึ่งมาหักกลบกับกำไรจากคริปโตเคอร์เรนซีสกุลเงินอื่นๆได้ แต่คุณสามารถใช้ผลขาดทุนที่เกิดจากแพลตฟอร์มที่ให้บริการโดยผู้ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น และคุณไม่สามารถยกยอดผลขาดทุนไปในปีต่อๆไปได้

ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมประเภทต่างๆ

ธุรกรรมบางอย่างทำให้ประเภทของการเก็บภาษีที่แสดงด้านบนแตกต่างกัน ด้านล่างนี้เป็นรายการหลักสำหรับการอ้างอิงของคุณ เราจะอธิบายรายละเอียดในคู่มือนี้ ธุรกรรมแต่ละรายการมีการจัดประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องและสัญลักษณ์ Divly ที่สอดคล้องกันสำหรับผู้ที่ใช้บริการของเราเพื่อทำให้การรายงานภาษีเป็นแบบอัตโนมัติ

ประเภทรายการ การจัดประเภทภาษี สัญลักษณ์ Divly
ซื้อคริปโต ไม่มี Buy
ขายคริปโต ภาษีเงินได้ 40(4) Sell
แลกเปลี่ยนระหว่างคริปโต ภาษีเงินได้ 40(4) Traded Crypto
การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน(ICO) ภาษีเงินได้ 40(4) Traded Crypto
ซื้อสินค้าและบริการ ภาษีเงินได้* Goods/Services
ชำระค่าธรรมเนียมการเทรดด้วยคริปโต ภาษีเงินได้ 40(4) ค่าธรรมเนียมรวมอยู่ในการเทรด
ชำระค่าธรรมเนียมการโอนด้วยคริปโต ภาษีเงินได้ 40(4) ค่าธรรมเนียมรวมอยู่ในการโอน
โอนคริปโตระหว่างวอลเล็ทของคุณ ไม่มี Transfer
คริปโตสูญหายหรือถูกขโมย ไม่มี Lost/Stolen
ให้คริปโตเป็นของขวัญ ไม่มี Gifted Away
รับคริปโตเป็นของขวัญ ภาษีของขวัญ* Received Gift
Airdrop ภาษีเงินได้ 40(8)* Airdrop
Hard Fork ภาษีเงินได้ 40(8)* Fork
การขุด ภาษีเงินได้ 40(8) Mining
Staking ภาษีเงินได้ 40(4)/40(8)* Staking Reward
ายได้ (เช่น งานอิสระ เงินเดือน) ภาษีเงินได้ 40(1)/40(2)* Income
รายได้จากการให้กู้ยืม ภาษีเงินได้ 40(4)* Interest Received
เทรดมาร์จิ้น ภาษีเงินได้ 40(4) Realized Profit/Loss
ซื้อขาย/วิธีสร้าง NFT ยู่ระหว่างดำเนินการ ยังไม่พร้อมให้บริการ
* โปรดดูส่วนที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม

ซื้อคริปโต / ซื้อคริปโตด้วยสกุลเงิน Fiat

ไม่มีภาษีที่เกิดจากการซื้อคริปโต อย่างไรก็ตาม คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ติดตามราคาที่คุณชำระไปสำหรับการคำนวณต้นทุนพื้นฐานของคุณ หากคุณซื้อคริปโตด้วยสกุลเงินต่างประเทศ (เช่น USD หรือ SEK) ให้แปลงเป็นมูลค่าในสกุลเงินท้องถิ่นในวันนั้น คุณควรเพิ่มค่าใช้จ่ายใดๆที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งคริปโตเคอร์เรนซี เช่น ค่าธรรมเนียมในการซื้อ การเพิ่มต้นทุนจะทำให้คุณสามารถลดผลกำไรของคุณเมื่อคุณขาย

ค่าธรรมเนียมการเทรดคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดจะรวมอยู่ในการคำนวณกำไรขาดทุนของเราโดยอัตโนมัติ

การประเมินมูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัลสำหรับการคำนวณต้นทุนและรายได้จะขึ้นอยู่กับมูลค่า ณ ตอนที่ได้มาหรือราคาเฉลี่ยในวันที่ได้มา

ขายคริปโต/ ขายคริปโตด้วยสกุลเงิน Fiat

มูลค่าจากการขายคือมูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซี ณ ตอนที่ขาย หากคริปโตเคอเรนซีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ตอนที่ได้มา คุณก็จะได้กำไร

หากคุณได้กำไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซี คุณจะต้องนำกำไรมารวมเป็นเงินได้เพื่อการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นสามารถนำมาหักกลบกับกำไรใดๆที่เกิดจากคริปโตเคอร์เรนซีได้ คุณสามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้หากคุณเคยได้รับบริการจากผู้ดูแลคริปโตเคอร์เรนซีภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

การแลกเปลี่ยนระหว่างคริปโต

คุณจะถูกเก็บภาษีจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคริปโต สำหรับการขายคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อให้ได้มาซึ่งสกุลเงิน Fiat กำไรที่ได้รับจะถือเป็นเงินได้พึงประเมิณเพื่อภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90. ในการพิจารณารายได้จากการทำธุรกรรม คุณควรใช้ราคาตลาดของสกุลเงินที่ได้รับ ณ ตอนที่ทำการซื้อขาย

ตัวอย่าง: คุณซื้อ 100 XRP ในราคา 2,000 บาท จากนั้นคุณเทรด 100 XRP สำหรับ 1 SOL มูลค่า 4,000 บาท ณ เวลาที่ทำการเทรด นาย A ได้กำไร 2,000 บาท ซึ่งต้องแสดงต่อกรมสรรพากร

การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน (ICO)

ICO เป็นวิธีสำหรับบริษัทบล็อคเชนในการขายคริปโตที่ขุดไว้ล่วงหน้าให้กับนักลงทุนที่มีศักยภาพ เมื่อคุณลงทุนในคริปโต (โดยเฉพาะ Ethereum) ในโปรเจ็คใหม่ คุณจะได้รับโทเค็นสำหรับโปรเจ็คนั้น จากมุมมองด้านการจัดเก็บภาษี การดำเนินการนี้มีความคล้ายคลึงกับการเทรดระหว่างคริปโตในสกุลเงินต่างๆ โดยปกติแล้ว คุณส่งคริปโตเคอร์เรนซีไปเพื่อแลกกับโทเค็นจากโปรเจ็คใหม่ คุณปฏิบัติตามหลักการเดียวกันกับที่คุณขายคริปโตของคุณสำหรับมูลค่าของโทเค็น ICO ในสกุลเงินท้องถิ่น โดยคริปโตที่คุณส่งไปจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโทเค็นที่ได้รับมาก็จะรวมต้นทุนการได้มาซึ่งโทเค็นนั้นด้วย

ซื้อสินค้าและบริการด้วยคริปโต

การซื้อสินค้าและบริการด้วยคริปโตถูกกีดกันจากรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2022 อย่างไรก็ตาม การซื้อขายและการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซียังคงถูกกฎหมาย หากคุณเคยซื้อสินค้าและบริการด้วยคริปโตเคอร์เรนซี อาจมีการเรียกเก็บภาษีในลักษณะเดียวกันกับการแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีของคุณเป็นสกุลเงิน Fiat คุณจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับกำไรใดๆที่เกิดขึ้น

หากคุณทำการซื้อแพลนสำหรับบริการคำนวณภาษีคริปโตเคอร์เรนซี เช่น Divly และเป็นผู้เสียภาษีชาวไทย คุณควรแน่ใจว่าคุณซื้อแพลนด้วยสกุลเงิน Fiat

ตัวอย่าง: สมมติว่าคุณซื้อ 1 Ethereum ในราคา 100,000 บาท และต่อมา Ethereum ของคุณมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บาท หากคุณซื้อแพ็คเกจวันหยุดพักผ่อนให้ครอบครัวด้วย 1 Ethereum คุณจะได้กำไร 100,000 บาทจาก ETH ของคุณ ดังนั้นคุณจึงต้องเสียภาษีจากกำไรตรงส่วนนี้

ชำระค่าธรรมเนียมการเทรด/โอนด้วยคริปโต

คุณสามารถรวมค่าธรรมเนียมการเทรดในการคำนวณต้นทุนการได้มา ดังนั้น หากคุณซื้อ Ethereum 10,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียม 100 บาท ค่าใช้จ่ายในการซื้อ Ethereum จะเท่ากับ 10,100 บาท อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้คริปโตเพื่อชำระค่าธรรมเนียม คุณจะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับกำไรที่เกิดขึ้น

โอนคริปโตระหว่างวอลเล็ทของคุณเอง

การโอนคริปโตระหว่างวอลเล็ทของคุณจะไม่ต้องเสียภาษี (รวมถึงการส่งคริปโตไปยังบัญชีของคุณบนแพลตฟอร์มซื้อขาย) แต่การขาย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี /โทเค็นดิจิทัลให้กับบุคคลอื่นจะต้องเสียภาษี ดังนั้น คุณจึงต้องติดตามการโอนภายในเหล่านี้ให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีที่ไม่จำเป็น! Divly จะทำการจับคู่การโอนให้คุณโดยอัตโนมัติ

ค่าธรรมเนียมการเทรดคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดจะรวมอยู่ในการคำนวณกำไรขาดทุนของเราโดยอัตโนมัติ

คริปโตที่สูญหายหรือถูกขโมย

ขณะนี้ไม่มีข้อบังคับสำหรับการเข้ารหัสลับที่ถูกขโมยหรือสูญหาย อย่างไรก็ตาม คุณจะไม่ถูกเก็บภาษีจาก crypto ที่สูญหายหรือถูกขโมย คุณอาจได้รับการหักเงิน อย่างไรก็ตาม คุณจะต้องติดต่อกรมสรรพากรสำหรับสถานการณ์เฉพาะของคุณ

Airdrop

โดยทั่วไปแล้ว airdrop ถือเป็นของขวัญจากการส่งเสริมการขายจากโปรเจ็คคริปโตเคอร์เรนซี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อกำหนดที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับ airdrop ที่ถูกประกาศออกมา เนื่องจากการรับ airdrops สามารถถูกมองว่าเป็นของขวัญจากการส่งเสริมการขายซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะต้องเสียภาษีภายใต้มาตรา 40 (8) สำหรับการรับคริปโตเคอร์เรนซี /โทเค็นดิจิทัลจากการให้หรือได้รับรางวัล

อย่างไรก็ตาม airdrop จำนวนมากมีมูลค่าเพียงเล็กน้อยเมื่อได้รับมา ซึ่งในกรณีนี้จะถือว่าไม่เกิดเงินได้ใดๆและคุณจะต้องเสียภาษีเมื่อขายออกไปเท่านั้น

หากคุณได้รับ airdrop เนื่องจากคุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์คริปโตอื่น คุณอาจถูกเก็บภาษีคล้ายกับการ staking โดยที่คุณจะจะต้องเสียภาษีภายใต้มาตรา 40(4) หรือ 40(8) เนื่องจากได้รับเงินได้จากการถือครองสินทรัพย์คริปโตซึ่งอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของสินทรัพย์คริปโตที่ได้รับด้วย

Fork

Hard Fork เกิดขึ้นเมื่อบล็อคเชนถูกแยกออก ในกรณีนี้คุณจะได้รับคริปโตเป็นของขวัญอันเนื่องมาจากความเป็นเจ้าของคริปโตเคอร์เรนซีที่แยกออกเป็นสองสาย เช่นเดียวกันกับ airdrops เนื่องจากยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับ Fork เนื่องจากคุณได้รับคริปโตเคอร์เรนซีจากการถือครองสินทรัพย์อื่น อาจทำให้คุณถูกเก็บภาษีได้เช่นเดียวกับการ staking โดยทั่วไปตอนที่เกิด fork นั้นคริปโตเคอร์เรนซีใหม่จะมีมูลค่าเป็น 0 ดังนั้นจึงถือได้ว่าเงินได้นั้นไม่คุ้มค่าที่จะเสียภาษี

ของขวัญ

คุณต้องเสียภาษีสำหรับคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้รับเป็นของขวัญ

ของขวัญที่มีมูลค่าน้อยกว่า 20 ล้านบาทในปีภาษีที่ได้รับจากเครือญาติจะไม่ต้องเสียภาษี และ 10 ล้านบาทสำหรับผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ส่วนจำนวนเงินที่มากกว่าส่วนที่ได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะต้องเสียภาษีที่ระหว่าง 5-10% ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของคุณกับคนที่ให้ของขวัญนั้น สำหรับทายาทหรือบุพการี อัตราภาษีคือ 5% สำหรับบุคคลอื่นๆจะอยู่ที่ 10%

การขุด

การขุดคริปโตจะไม่ถูกเก็บภาษีในวันที่คุณได้รับคริปโตเคอร์เรนซีที่ขุดได้ แต่จะมีการคำนวณเงินได้ของคุณเมื่อมีการขายแทน คุณต้องแสดงรายการเงินได้จากการขุดของคุณเป็นรายได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ขุดได้ โปรดดูด้านล่างของคู่มือนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงรายการเงินได้คริปโตเคอร์เรนซีและค่าใช้จ่ายในการขุดของคุณ

คุณสามารถหักค่าบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ค่าไฟฟ้า และค่าอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปีภาษีที่คุณต้องรับผิดชอบโดยตรงสำหรับกิจกรรมการขุดคริปโตเคอร์เรนซีของคุณ คุณยังสามารถหักค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักขุด คุณต้องจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายและบัญชีต้นทุนของคุณได้

Staking หรือ Yield Farming

Staking เป็นอีกทางเลือกแทนการขุด Staking ต่างจากการขุดตรงที่ต้องเสียภาษี ณ ตอนที่ได้มา การที่จะคุณจะต้องยื่นแสดงรายการเงินได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าเงินได้จากการ staking ของคุณนั้นเป็นโทเค็นดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งคริปโตเคอร์เรนซีในแง่นี้เป็นสินทรัพย์ดั้งเดิมของบล็อคเชน โดยที่ บล็อคเชนของEthereum นั้นมี Ethereum เป็นสินทรัพย์ดั้งเดิม แต่มีโทเค็นนับพันที่สร้างขึ้นบนบล็อคเชนของ Ethereum คำจำกัดความอย่างเป็นทางการของแต่ละประเภทมีดังนี้

“คริปโทเคอร์เรนซี” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบ

หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า

บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด

“โทเคนดิจิทัล” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบ หรือเครือข่าย

อิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. กําหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ

  2. กําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กําหนดใน

ข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือ และให้หมายความรวมถึงหน่วยแสดงสิทธิอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.

โทเค็นที่คุณได้รับจะต้องแสดงรายการเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4) ของประมวลรัษฎากร คริปโตเคอร์เรนซีดั้งเดิมที่คุณได้รับ จะต้องแสดงรายการเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ของประมวลรัษฎากร จำนวนเงินที่คุณต้องแสดงรายการคือมูลค่าที่เป็นเงินบาท ณ เวลาที่คุณได้รับคริปโต ดูหัวข้อวิธีการยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้แก่กรมสรรพากรเพื่อเรียนรู้วิธีการแสดงรายการเงินได้จากการ staking ในส่วนนี้ Divly จะช่วยให้คุณมีรายได้จากการ staking/yield farming ด้วยสกุลเงิน คุณสามารถเลือกใช้วิธียื่นแสดงรายการที่คิดว่าเหมาะกับตัวคุณ

การให้ยืมและการกู้ยืม

ในปัจจุบัน เราไม่ทราบถึงระเบียบข้อบังคับที่แน่ชัดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ได้รับหรือจ่ายจากคริปโตเคอร์เรนซี อย่างไรก็ตาม การพิจารณาดอกเบี้ยปกตินั้นต้องยื่นแสดงรายการตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร มีความเป็นไปได้ว่าคุณจะต้องยื่นแสดงรายการจากดอกเบี้ยที่ได้รับในรูปแบบของคริปโตเคอร์เรนซีตามมาตรา 40(4) พร้อมกับเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซีอื่นๆ ของคุณ

รายได้จากค่าจ้าง

คริปโตเคอร์เรนซีที่ได้รับในรูปแบบของเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นส่วนหนึ่งของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) คริปโตเคอร์เรนซีที่ได้รับในฐานะผู้รับเหมาจะถูกมองว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) โดยมูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้รับเป็นเงินบาท ณ เวลาที่ได้มาจะถูกพิจารณาเป็นเงินได้

รางวัล

คริปโตที่ได้รับเป็นรางวัลมักจะถูกมองว่าเป็นเงินได้และต้องยื่นแสดงรายการตามมาตรา 40 (8) รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม การขนส่ง หรือกิจกรรมอื่นใดที่ไม่ได้ระบุไว้ใน 1-7

การซื้อขายมาร์จิ้น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการซื้อขายอนุพันธ์

ไม่มีข้อบังคับเฉพาะเกี่ยวกับการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีด้วยอนุพันธ์ อย่างไรก็ตาม คุณยังคงต้องยื่นแสดงรายการกำไรที่ได้รับในการเสียภาษีเงินได้

NFTs

Non-Fungible Tokens (NFTs) เป็นสินทรัพย์คริปโตที่ซื้อขายบนบล็อคเชนที่มีการตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน

ไม่มีระเบียบข้อบังคับที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับวิธีการเก็บภาษี NFT ซึ่งอาจเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่าขณะนี้ยังไม่มีตลาดซื้อขาย NFT ที่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย NFTS จะถูกเก็บภาษีเช่นเดียวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ปัจจุบัน Divly เป็นผู้ดูแลจัดการ NFT เสมือนเป็นสกุลเงินดิจิตอลอื่นๆที่ใช้เพื่อการเทรดและการขาย

วิธีการยื่นแบบภาษีเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซีแก่กรมสรรพากร

เมื่อคำนวณภาษีเสร็จเรียบร้อยแล้วและพอร์ทัลสำหรับการยื่นภาษีของกรมสรรพากรได้เปิดให้ใช้บริการแล้วก็ถึงยื่นแบบภาษีเงินได้ของคุณก่อนกำหนดในเดือนมีนาคม

สำหรับเงินได้ที่ถูกจัดประเภทเป็นเงินได้ภายใต้มาตรา 40 (8) นั้นคุณยังต้องยื่นแบบภาษีครึ่งปีสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน

ยื่นแบบภาษีออนไลน์

หากคุณกำลังยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซี

  1. ไปที่ระบบยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร efiling.rd.go.th

  2. เลือกยื่นแบบออนไลน์ (ยื่นออนไลน์) เพื่อทำการยื่นแบบออนไลน์

  3. จากนั้นเลือก ภ.ง.ด. 90/91 หากคุณยื่นภาษีเงินได้ประจำปีสำหรับเงินได้ที่จำแนกได้ตามมาตรา 40(1),(2),(4),(8) หรือเลือก ภ.ง.ด. 94 หากคุณได้ยื่นแบบภาษีเงินได้ครึ่งปีสำหรับเงินได้ที่จำแนกได้ตามมาตรา 40(8)

คุณต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซีด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90/91 สำหรับธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ คุณอาจต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด**.** 94 สำหรับการขุด staking หรือ รางวัล

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีของคุณภายใต้ “กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี” จากนั้นเลือก “กรอกเงินได้”

ภาษีคริปโต กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี กรอกเงินได้

แสดงรายการภาษีเงินได้จากการเทรดคริปโตเคอร์เรนซี

ภายใต้รายได้จากการลงทุน เลือก “ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

แสดงรายการภาษีเงินได้จากการเทรดคริปโตเคอร์เรนซี

คุณจะเห็นสามช่องว่างที่จะกรอกข้อมูลลงไป ทางด้านซ้ายคุณควรกรอกรายได้ทั้งหมดของคุณตามที่ Divly คำนวณไว้ ช่องตรงกลางให้คุณสามารถกรอกภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากไม่มีอะไรกรอกลงไปมันจะขึ้นเป็น 0 โดยอัตโนมัติ จากนั้นให้คุณกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ลงในช่องขวาสุด

แสดงรายการภาษีเงินได้จากการขุด

หากคุณใช้ Divly เพื่อแสดงรายการเงินได้จากการขุดของคุณ เราขอแนะนำให้ใช้วิธี FIFO เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยในการติดตามรายได้ที่เกิดจากการขุดของคุณ คุณจะสร้างรายได้จากการขุดเมื่อคุณขายคริปโทเคอร์เรนซีที่คุณได้จากการขุดเท่านั้น เมื่อใช้วิธี FIFO จะมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าเมื่อใดที่สกุลเงินดิจิทัลที่คุณขายนั้นมาจากการขุด

ภายใต้เงินได้จากธุรกิจ ให้ไปที่ “ประเภทธุรกิจ” และระบุว่าเป็น “รายได้อื่นๆ” และภายใต้ “โปรดระบุ” ให้ระบุเป็น “รายได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ขุดได้

ช่องสามช่องด้านล่างจากซ้ายไปขวา คือ เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขผู้จ่ายเงินได้

ภาษีคริปโตรายได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ขุดได้

หากคุณต้องการหักค่าใช้จ่ายในการขุด เช่น สัดส่วนของค่าซ่อมคอมพิวเตอร์และค่าไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมการขุดของคุณ ให้เลือกหักตามค่าใช้จ่ายจริง

แสดงรายการภาษีเงินได้จากรายได้ค่าจ้างและเงินเดือน

คุณต้องกรอก ภ.ง.ด. 90/91 โดยไปที่รายได้จากเงินเดือนและเลือกเงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างงาน (40(1)) (ให้แสดงรายได้จากเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงาน) ถ้ามี สำหรับงานฟรีแลนซ์ เลือกรายได้จากการจ้าง ฟรีแลนซ์ เบี้ยประชุม และคอมมิชชั่น (40(2)) (รายได้จากการจ้างงาน ฟรีแลนซ์ ค่าธรรมเนียมตำแหน่ง เบี้ยประชุม หรือค่าคอมมิชชั่น (มาตรา 40(2)))

ภาษีคริปโตงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างงาน

แสดงรายการภาษีเงินได้จากรางวัล

ไปที่รายได้จากทรัพย์สิน (40(8) ภายใต้ ประเภทธุรกิจ ให้ระบุเป็น รายได้อื่นๆ จากนั้นภายใต้โปรดระบุ ให้ระบุ ได้รับคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล

ช่องสามช่องด้านล่างจากซ้ายไปขวา คือ เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขผู้จ่ายเงินได้

ภาษีคริปโตด้รับคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล

แสดงรายการภาษีเงินได้จาก Staking & Yield Farming Income

ภาษีสำหรับโทเค็นดิจิทัลและได้รับคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับจาก Staking & Yield Farming จะต้องเสียภาษีแยกกัน Divly ได้แบ่งรายได้ของคุณตามสกุลเงินเพื่อให้คุณสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสม คุณสามารถค้นหาความหมายของโทเค็นดิจิทัลและคริปโทเคอร์เรนซีได้ในส่วนด้านบนที่แสดงเป็น Staking หรือ Yield Farming เพื่อช่วยคุณในการตัดสินใจ

โทเค็นดิจิทัล

หากคุณกำลังแสดงรายการภาษีเงินได้จากคริปโตสำหรับการถือครองโทเค็นดิจิทัล สิ่งเหล่านี้จะต้องแสดงรายการภายใต้มาตรา 40(4) ภายใต้ รายได้จากการลงทุน โดยที่คุณควรระบุ เงินส่วนแบ่งของกําไร หรือผลประโยชน์อื่นใด ในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเค็นดิจิทัล

ช่องสามช่องด้านล่างจากซ้ายไปขวา คือ เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขผู้จ่ายเงินได้

ภาษีคริปโตเงินส่วนแบ่งของกําไร หรือผลประโยชน์อื่นใด ในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเค็นดิจิทัล

คริปโตเคอร์เรนซี

แสดงรายการภาษีเงินได้จากคริปโตสำหรับการถือครองโทเค็นดิจิทัล สิ่งเหล่านี้จะต้องแสดงรายการภายใต้มาตรา 40 (8)

ภายใต้ ประเภทธุรกิจ ให้ระบุ รายได้อื่นๆ จากนั้นภายใต้ โปรดระบุ ให้ระบุ ผลตอบแทนจากการนําคริปโตเคอร์เรนซีไปแสวงหาประโยชน์

ช่องสามช่องด้านล่างจากซ้ายไปขวา คือ เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขผู้จ่ายเงินได้

ภาษีคริปโตผลตอบแทนจากการนําคริปโตเคอร์เรนซีไปแสวงหาประโยชน์

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แบบกระดาษ

หากคุณต้องการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แบบกระดาษ คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่ต้องใช้ได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร บนหน้านี้ยังมีเอกสารและคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการกรอกเอกสารที่จำเป็น โดยคุณจะต้องกรอก ภ.ง.ด. 90/91 หรือ ภ.ง.ด. 94 หากคุณต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี

ขอบคุณที่อ่านคู่มือภาษีของเรา ขอให้โชคดีกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซีของคุณ


ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษีใดๆจากเราไม่ถือเป็นคำแนะนำด้านภาษี คำแนะนำทางการเงิน คำแนะนำด้านบัญชี หรือคำแนะนำทางกฎหมาย และไม่สามารถใช้โดยคุณหรือบุคคลอื่นใดเพื่อจุดประสงค์ในการหลีกเลี่ยงบทลงโทษทางภาษี คุณควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเกี่ยวกับเคสของคุณโดยเฉพาะ เราไม่ให้สิทธิ์เรียกร้อง สัญญา หรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลที่ให้ไว้ในที่นี้ ทุกสิ่งในที่นี้เป็นความเห็นของเราและไม่ถือเป็นคำแถลงข้อเท็จจริง

พร้อมรับรายงานภาษีของคุณหรือยัง?

เพื่อเริ่มต้นใช้งาน เพียงเชื่อมต่อวอลเล็ทและตลาดแลกเปลี่ยนของคุณ